เกริ่น

........สวัสดีคร้าา ท่านผู้ชมที่เข้ามาชม Blogger นี้นะค่ะ เป็นสื่อประกอบ วิชา ความเป็นครู ปีการศึกษา1/2558 เป็นการเรียนรู้ใหม่ๆ มีความสะดวกสบาย ทำให้หน้าสนในในการเรียนการสอน เป็นบทความเเละรูปภาพประกอบมากมายรวมทั้งวีดีโอและข้อมูสต่างๆ ที่หน้าสนในBloggerนี้ เรายังนำข้อมูลจากการึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกลมาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติหวังว่า Blogger นี้จะมีประโยชน์กับทุกๆท่านที่เข้ามาชมใน Blogger นี้ไม่มากก็น้อย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ความสำคัญของวิชาชีพครู



ครู อาชีพครู วิชาชีพครู งานที่มีเกียรติและเป็นงานที่สร้างคนให้กับสังคม
ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอ


ความสำคัญของคุณธรรม

คุณธรรมเป็นเสมือนหลักการสำคัญที่ให้ไว้สำหรับบุคคลหรือสังคมได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  จะช่วยให้บุคคลปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น  มีความสำเร็จในงานที่ทำ  เป็นคนดีของครอบครัว  สังคม และประเทศชาติ  สำหรับครูกับคุณธรรมนั้นจะต้องเป็นของคู่กัน  หากครูขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนกับนักบวชที่ไร้ศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานหลักคุณธรรมสำหรับคนไทยในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า  ณ  ท้องสนามหลวง  วันจันทร์ที่  5  เมษายน  พ.ศ. 2525  ทั้งนี้เพื่อยึดถือปฏิบัติมีอยู่  4  ประการ  คือ
ประการแรก      คือ การรักษาความสัจ...ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง  คือ  การรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ  ความดีนั้น
ประการที่สาม  คือ  การอดทน  อดกลั้น  และอดออม  ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ  สุจริต  ไม่ว่าจะ                                  ด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่  คือ การรู้จักละวางความชั่ว  ความสุจริต  และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

    
คุณธรรมทั้ง  4  ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข  ร่มเย็น  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครู  จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น
คุณลักษณะครูที่ดี

             
เหนือสิ่งอื่นใด  ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส  ประจำปีพุทธศักราช  2522  เมื่อวันอังคารที่  28  ตุลาคม  พ.ศ.2523  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  2541)  มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า  ........

ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี  คือ
-  
ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
-  
ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
-  
ต้องหนักแน่น  อดทน  อดกลั้น
-  
ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
-  
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
-  
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
-  
ต้องรักษาความซื่อสัตย์  รักษาความจริงใจ
-  
ต้องมีเมตตา  และหวังดี
-  
ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
-  
ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ  และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล

คุณลักษณะที่ดีของครู

 
หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี  หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม ลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความ
เข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู
มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี  มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
สถาบันและองค์กร (วิชาชีพครู)
สถาบันและองค์กร

แนวคิด
๑. องค์กร
  
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู  มีหลักๆ๓  องค์กร คือ
  
องค์กรผลิตครู  –  หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
  
องค์กรใช้ครู     –  สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา เทศบาล  โรงเรียนเอกชน
..............................
หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
  
องค์กรวิชาชีพครู องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู
................................
และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ
 
 
ลักษณะขององค์กร
            ๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
           
๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
           
๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
           
๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ
           
๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา
           
๖. มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ

      ตัวอย่างองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ
            
๑. ครุสภาเก่า
           
๒. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
           
๓. สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น  สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
................
สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย เป็นต้น
           
๔. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
     
  เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู

   ๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน
   
๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)
   
บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)

๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอัน       เหมาะสม
๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง

๒. สถาบัน

 - สถาบันเป็นสิ่งที่สำคมจัดตั้ง  เพื่อประโยชน์โดยรวมของสังคม  เป็นความจำเป็นที่ต้องมีของสังคม
  -
จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสังคมยอมรับ
  -
มีกฎหมายรองรับ มีระเบียบวิธีการ
  -
มีลักษณะ มั่นคง เปลี่ยนแปลงยาก
  -
มีประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆ


    
สถาบันวิชาชีพครู  ส่งเสริมศักดิ์ศรี  สร้างความเชื่อมั่น และ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม
   
ผู้ประกอบวิชาชีพ ยึดมั่น ศรัทธา สร้างชื่อเสียงให้สังคมยอมรับ และ ปกป้องสถาบัน



 
องค์กรวิชาชีพครู 

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู  มีหลักๆ๓  องค์กร คือ
องค์กรผลิตครู หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
องค์กรใช้ครู สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา เทศบาล  โรงเรียนเอกชน  หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
องค์กรวิชาชีพครู องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ
 
  ลักษณะขององค์กร

     ๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
     
๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
     
๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
     
๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ
     
๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา
     
๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ

     ตัวอย่างองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ

๑. ครุสภาเก่า
๒. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
๓. สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น  สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย เป็นต้น
๔. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย

 
เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู
  ๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน
 
๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)
 
  
บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)

๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ใน
.....
ขอบเขตอันเหมาะสม
๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ
๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง

          

คุณลักษณะของวิชาชีพทั่วไป

เหนือสิ่งอื่นใด  ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส  ประจำปีพุทธศักราช  2522  เมื่อวันอังคารที่  28  ตุลาคม  พ.ศ.2523  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา,  2541)  มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า  ........

ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี  คือ 
-          ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
-          
ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
-          
ต้องหนักแน่น  อดทน  อดกลั้น
-          ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
-          
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
-          
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
-          
ต้องรักษาความซื่อสัตย์  รักษาความจริงใจ
-          
ต้องมีเมตตา  และหวังดี
-          
ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
-          
ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ  และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล 

1 ความคิดเห็น:

  1. ตัวหนังสือสีสันสวยงามเนื้อหาสอดคล้องตามที่อาจารย์ได้สั่งเนื้อหากระชับดีอ่านได้เข้าใจเป็นที่น่าสนใจแต่ตัวหนังสือเล็กไปทำให้มีการอ่านยากนิดนึง ควรใช้ตัวอักษรที่ใหญ่จะได้สะดวกต่อการอ่านที่ง่ายยิ่งขึ้นจะได้ไม่สับสในการอ่านตัวอักษรมรสีสันที่สวยงามดีแล้ว

    ตอบลบ